NEWS

dwp เดินหน้า ปูทางสู่ความยั่งยืนเพื่อโลกอนาคต ส่ง ติ๊นา อินทอง ดีไซเนอร์ฝีมือดี นำทีมสร้างสรรค์

Oct 03, 2022 / ดู 857 ครั้ง

เพราะแนวคิดด้านความยั่งยืน(Sustainable) ไม่ได้เป็นแค่เทรนด์ที่ผ่านมาแล้วหายไป แต่เป็นไลฟ์สไตล์ที่ทั่วโลกขานรับและหลายธุรกิจ ก็กำลังปรับสัดส่วนองค์กรให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้บริบทการใช้ชีวิต การทำงาน ต้องปรับเปลี่ยนไปตามโลกวิถีใหม่ด้วยเช่นกัน ที่เห็นได้ชัดเจน คือแนวคิดด้านการออกแบบเพื่อความยั่งยืน กลายมาเป็นตัวเลือกที่จะช่วยดึงเอาธรรมชาติให้ใกล้ชิดกับไลฟ์สไตล์คนเรามากขึ้น ซึ่งทาง dwp I Design Worldwide Partnership บริษัทที่ปรึกษาด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบระดับสากล ที่มีประสบการณ์มาหลายสิบปีในประเทศไทย และมีผลงานมากมายในระดับโลก ได้ให้ความสำคัญกับเทรนด์ที่เปลี่ยนไปนี้มาโดยตลอด จึงเกิดเป็นทีมงาน Sustainable Group ทีมที่ปรึกษาด้านการออกแบบเพื่อความยั่งยืน รองรับการขับเคลื่อนผลงาน ภายใต้คอนเซ็ปต์ Biophilic Design

คุณติ๊นา อินทอง Senior FF&E Designer สำเร็จการศึกษาด้านออกแบบสถาปนิก สาขา Interior Design จากสถาบันชั้นนำในอิตาลี และมีประสบการณ์ด้านงานออกแบบในวงการอัปเดตเทรนด์ให้ฟังว่า "ปัจจุบันทั่วโลกโลกเข้าสู่การใช้ชีวิตวิถีใหม่ หลังจากที่ผู้คนเหินห่างจากธรรมชาติด้วยข้อจำกัดเดียวกัน ถึงตอนนี้ได้รู้แล้วว่า ธรรมชาติมีคุณค่าความสำคัญอย่างไร และอยากมีพื้นที่สีเขียวไว้ภายในบ้านหรืออาคารสำนักงาน ทาง dwp ซึ่งเป็นผู้นำด้านดีไซเนอร์และการออกแบบ จึงได้นำเอาความต้องการตรงจุดนี้ มาตีความภายใต้คอนเซ็ปต์ Biophilic Design หรือการออกแบบที่นำธรรมชาติกลับคืนสู่สังคมเมือง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ากลุ่มนี้ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้ว Biophilic Design ในประเทศไทย เราจะโฟกัสไปที่พื้นที่สีเขียวและพื้นที่ส่วนกลางของทุกโครงการที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นงานสถาปัตยกรรมหรือการจัดสรรพื้นที่ ที่ทุกคนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบโถงใหญ่ที่มีขนาดสูง เห็นวิวธรรมชาติ ลมผ่านได้สะดวก แสงธรรมชาติส่องถึงตัวอาคาร เป็นต้น

สำหรับงานที่รับผิดชอบอยู่ในฐานะดีไซเนอร์ ในส่วนโครงการที่ต้องการให้เราออกแบบในคอนเซ็ปต์ Biophilic Design ทาง dwp จะเน้นหลักการอยู่ 3 ข้อ คือ Direct Contact หรือจากคนสู่คน ก็คือการใช้ต้นไม้และพืชพรรณต่าง ๆ มาตกแต่งโดยตรง ลมธรรมชาติ ใช้แสงธรรมชาติที่ส่งถึงตัวผู้อยู่อาศัยได้โดยตรง Indirect Contact หรือการจำลององค์ประกอบธรรมชาติ โครงสร้าง รูปทรงต่าง ๆ ความโค้งมน วงกลม ทรงเหลี่ยม ข้อสุดท้าย คือ การใช้วัสดุทดแทนธรรมชาติ อย่างเราใช้ไม้ลามิเนตแทนการใช้ไม้จริง ใช้กระเบื้องแทนการใช้หินจริง เพื่อให้ความรู้สึกเติมเต็มด้านอารมณ์ความรู้สึกให้ได้มากที่สุด ที่กล่าวมาทั้ง 3 ข้อ ล้วนแต่เป็นการออกแบบโดยอิงจากสัญชาตญาณของมนุษย์ทั้งสิ้น เน้นความโปร่ง-โล่ง-สบาย-ไม่ทึบตัน และมีพื้นที่ส่วนตัว และที่ COCO PARC Managed by DUSIT พระราม 4 เป็นอีกหนึ่งโครงการที่มีครบทุกอย่าง เห็นได้ชัดเจน คือ บริเวณล็อบบี้ที่สูงกว่า 6 เมตร เน้นไม้เป็นวัสดุหลัก สลับกับดีไซน์ผนังกำแพงเป็นกระจกใสที่มีความโค้งเว้า รูปทรงต่าง ๆ รอบอาคารจัดสรรให้เป็นต้นไม้สีเขียวเต็มพื้นที่ ทางโครงการให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก ด้านในอาคารตกแต่งด้วยวัสดุทดแทนธรรมชาติ แต่ละโซนตอบโจทย์ในแง่ของการใช้ชีวิตอย่างแท้จริง จัดสรรพื้นที่หลากหลาย มีมุมส่วนตัวให้ได้ผ่อนคลาย แม้โครงการจะอยู่ในเมืองก็ตาม แต่เราอยากทำพื้นที่ตรงนี้ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับผู้อยู่อาศัย ทุกคน ที่มีไลฟ์สไตล์แตกต่างกันให้อยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว

ความพิเศษของโครงการต่าง ๆ ภายใต้คอนเซ็ปต์ Biophilic Design คือ เราร่วมมือกับท้องถิ่น ทำงานร่วมกับคนในชุมชน เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นและทรัพยากรธรรมชาติ โดย dwp วัสดุจากไม้ ต้องเป็น "ไม้ป่าปลูก" ซึ่งเมื่อถูกตัด เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบ แล้วจะมีการปลูกชดเชยต้นใหม่กลับไปทดแทน ไม่ทำลายผืนป่าและลดการนำเข้า ถ้าเป็นวัสดุประเภทหินอ่อน เรานำมาจากแหล่งชุมชนขึ้นชื่อ ในจังหวัดสระบุรี นอกจากนี้ หากเป็นงานตกแต่งประเภทงานฝีมือ งานคราฟต์ เราสนับสนุนฝีมือคนไทย โดยเฉพาะชุมชนในภาคเหนือ ภาคอีสาน เป็นการช่วยเหลือชุมชนให้มีรายได้ไปอีกทางหนึ่ง"

และด้วยแนวทางด้านงานดีไซน์และการออกแบบที่มีจุดยืนชัดเจน บวกกับความตระหนักถึงคุณค่าของการสร้างโลกอนาคตที่ยั่งยืนของคู่ค้าทางธุรกิจ ทำให้ dwp ได้รับความไว้วางใจจากหลายโครงการ ตอบรับในคอนเซ็ปต์นี้

คุณติ๊นา กล่าวต่อว่า "อย่างโครงการในเครือ THE FORESTIAS by MQDC เห็นภาพความเป็น Biophilic Design ที่สมบูรณ์แบบเป็นการปลูกป่าใหม่ขึ้นกลางกรุงและเป็นโครงการแรกในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เน้นเรื่องความยั่งยืนแบบร้อยเปอร์เซ็นต์เลยก็ว่าได้ ในฐานะคนทำงานดีไซน์ มองว่า Biophilic Design อาจตีเป็นเม็ดเงินในเชิงธุรกิจได้ไม่ชัดเจนนัก แต่ในแง่ของความยั่งยืนและการส่งต่อโลกอนาคตให้กับคนรุ่นใหม่ ส่วนตัวมองว่ามันมีค่ามากมายมหาศาลกับพวกเราทุกคนที่ต้องช่วยกันทำให้ยั่งยืน จะว่าไป คำว่า Biophilic Design อาจเหมือนเป็นศัพท์ใหม่ แต่เอาเข้าจริงคอนเซ็ปต์นี้อยู่รอบตัวเรา การปลูกต้นไม้ในบ้าน การสร้างบ้านให้มีกระจก มีหน้าต่างมีช่องว่างให้ลมผ่าน เพียงแค่เรายังไม่รู้ว่าจะขับเคลื่อนไปทิศทางใดให้เกิดความยั่งยืน ทาง dwp เราเป็นบริษัทแรก ๆ ที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ และมีกลุ่มทีมงาน Sustainable Group เพื่อให้ความรู้เชิงลึกคอยให้คำปรึกษาโดยเฉพาะ ซึ่งก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และเรามีอีกหลายโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ น่าจะทยอยเปิดตัวได้ในปลายปี 2565 นี้"

dwp กำลังสร้างนิยามใหม่ของคำว่า Biophilic Design สร้างสรรค์การออกแบบพื้นที่สีเขียวให้เกิดขึ้น ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย แต่เป็นการส่งต่อโลกอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับคนรุ่นใหม่ทั่วโลกที่เรามีสาขาอยู่


ข่าวอื่นๆ

+more